จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) พบว่าในช่วงระหวางปี 1990-2005 ประเทศกำลังพัฒนาปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาค เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 32% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมลดลง 12% และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรของ ประเทศไทยคิดเป็น 13%
ทั้งนี้จากการกรมควบคุมมลพิษ พบว่าพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวและมีการเผาฟางข้าวมากที่สุด ในประเทศไทยมีถึง 13 จังหวัดซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง เช่น ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา เป็นต้นที่ เป็นเช่นนี้เพราะมีการทําเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นใน ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอต่อ ประชากรที่เพิ่มมากขึ้น สําหรับปริมาณฟางข้าวที่ ประเทศไทยผลิตออกมาแต่ละปี มากถึง 50-60 ล้านตันต่อ ปี และสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาออกสู่โลกมากถึง 27 ล้านตันกิโลกรัมคาร์บอน ไนโตรเจนที่ สูญเสียไปจากการเผาทําลาย 462 ล้านกิโลกรัมและ ไนโตรเจนฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น 100-700 ล้านกิโลกรัม
โดยทั่วไปช่วงหน้าแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ก็มักจะพบว่ามีการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ส่วนการเผานั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่จะเผาด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ จะส่งผลกระทบต่อดินทั้งสิ้น คือ
1. ทำลายอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน คือ การเผาฟางข้าวทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจน 6 - 9 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 0.8 กก./ไร่ โพแทสเซียม 15.6 กก./ไร่
2. ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โครงสร้างดินอัดแน่นเสียหายเกิดการอิ่มตัวของน้ำเร็วขึ้น เก็บน้ำได้น้อยไม่ทนแล้ง การระบายน้ำได้น้อย ช่องว่างของอากาศไม่เพียงพอ ดินแข็งมากขึ้นไถเตรียมดินได้ตื้นขึ้น หน้าดินน้อยลงและรากพืชแทงทะลุได้ยากขึ้น การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ผลผลิตต่ำ
3. ทำลายแมลงควบคุมศัตรูพืช และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ลดลง เช่น การเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรีย์สารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลทำให้แพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น
4. สูญเสียน้ำในดินคือเผาตอซัง ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศา ทำให้น้ำในดินระเหยสู่บรรยากาศความชื้นลดลง
5. ก่อให้เกิดเขม่าควันฝุ่นละอองก๊าซพิษส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ ทั้งนี้ หากมีการเผาฟางข้าวปีละครั้งทั่วประเทศ 60 ล้านไร่ จะก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 27 ล้านกิโลกรัมคาร์บอน การปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน 462 ล้านกิโลกรัมไนโตรเจน ฝุ่นละออง 100 - 700 ล้านกิโลกรัมต่อไร่
6. ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อนและเกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการไถกลบตอซัง และเศษวัสดุทางการเกษตรด้วยเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ
1.โครงสร้างดินมีความ อุดมสมบูรณ์ แร่ธาตุ อาหารในดินเพิ่มมากขึ้น
ไม่สร้างมลพิษ ทางอากาศ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมการใส่ปุ๋ย หมักมีอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่มมากขึ้นและช่วยใน การยอยสลายได้เร็วขึ้นการใส่นํ้าสกัดชีวภาพมี อินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่ม มากขึ้นและช่วยในการยอยสลายได้เร็วขึ้น
2.การเพิ่มมูลค่าจากการหาประโยชน์จากฟางข้าว น่าจะเป็นแรงจูงใจหลักให้เกษตรกรในการสร้างรายได้ ฟางข้าวนั้นมีประโยชน์มากมายเช่น นําไปเลี้ยงสัตว์ คลุม หน้าดินรักษาความชุ่มชื้นใช้ในการเพาะเห็ด ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆนําเอาฟางข้าวไปใช้ เป็นชีวมวลทางเลือกเสริมเชื้อเพลิงจําพวกแกลบและกากอ้อยที่โรงงานนํ้าตาลและโรงสีข้าวมีความต้องการสูงและ ราคาเริ่มสูงขึ้นหรือทําเป็นนํ้ามัน ชีวภาพ Bio oil อีกด้วย
ข่าว ณ. วันที่ 16 พ.ย. 2566 เวลา 11.10 น. โดย คุณปภัสมฬ เสนะ
ผู้เข้าชม 25 ท่าน |